เทพบุตรกำราบมาร มือพิฆาตแห่งพันธารา (The hansome demons slayer)
เมื่อโลกทั้งสองเชื่อมถึงกัน ความชั่วร้ายค่อยๆคืบคลานเข้าสู่พันธารา มีเพียงพวกเขาเทานั้นที่มีอำนาจมากพอจะต่อกรกับพวกมัน พวกเขาที่ไดรับขนานนามว่า มือพิฆาตแห่งพันธารา
ผู้เข้าชมรวม
712
ผู้เข้าชมเดือนนี้
10
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
นิยายเรื่องนี้แต่งขึ้นจากจินตนาการไม่ได้อิงตามประวัติศาสตร์และหลักการทางวิทยาศาสตร์และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงหรือพาดพิงบุคคลใดๆทั้งสิ้น เป็นนิยายแฟนตาซีที่แต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิงเท่านั้น
ปฐมบท
ทวีปอามันต์ อาณาจักรพันธารา ปีเทพศักราช ๑๑๑๗
๓๐๐ ปีหลังก่อตั้งอาณาจักรพันธารา อาณาจักรถูกรุกรานอย่างหนักโดยโจรสลัดจากทะเลใต้ มากกว่าครึ่งของอาณาจักรถูกผู้รุกรานยึดครองไป ในช่วงเวลาแห่งความสิ้นหวังนี้ได้ถือกำเนิดวีรบุรุษขึ้นผู้หนึ่ง วีรบุรุษผู้นี้อาสานำทหารออกไปขับไล่โจรสลัดโดยที่เขานำทหารไปแค่เพียง ๑๐๐ นายเท่านั้น เขาได้ปลดแอกชาวบ้านและนำพาชาวบ้านลุกขึ้นต่อต้านและในที่สุดก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานไปจนสิ้น
หลังจากนำพาความสงบสุขกลับมาได้แค่เพียงไม่นาน ครอบครัวของเขาก็ถูกสังหารจนสิ้นทั้งมารดา ภรรยา บุตรชายที่มีอายุเพียง ๔ ปีและแม้แต่บ่าวในเรือนโดยไม่มีหลักฐานและร่องรอยอะไรเหลืออยู่เลย มีเพียงตัวเขาเท่านั้นที่รอดชีวิตมาได้ วีรบุรุษหนุ่มกราบทูลต่อองค์กษัตริย์ว่าครอบครัวของเขาถูกสังหารโดยสิ่งชั่วร้ายที่พวกเขาเรียกมันว่า ปีศาจ แต่องค์กษัตริย์และขุนนางทั้งราชสำนักคิดว่าเขานั้นเสียสติจากการสูญเสียครอบครัวไป ไม่มีแม้สักคนเลยที่จะเชื่อคำพูดของเขา หลายเดือนต่อมาวีรบุรุษหนุ่มก็ได้หายตัวไปจากเมือง เขาหายสาบสูญไปไม่เคยมีผู้ใดได้พบเขาอีกเลย
องค์กษัตริย์ทรงมีรับสั่งให้สร้างอนุสรณ์สถานไว้แทนที่เรือนของวีรบุรุษหนุ่มเพื่อให้ชาวพันธาราได้รำลึกถึงวีรกรรมของเขา แท่นศิลาใต้อนุเสาวรีย์วีรบุรุษนั้นได้สลักข้อความไว้ว่า
"สมเด็จเจ้าพระยาทองพันเดชดำรงค์ธรรม วีรบุรุษผู้กอบกู้อาณาจักรพันธารา"
แม้วันเวลาจะได้ผ่านล่วงเลยไปแต่วีรกรรมของสมเด็จเจ้าพระยาทองพันก็ยังคงถูกบอกเล่ากล่าวถึงไปทั่วทั้งอาณาจักร ตัวตนที่มีอยู่จริงของสมเด็จเจ้าพระยาทองพันค่อยๆเลื่อนหายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงแต่เรื่องเล่าขานที่สืบต่อกันมา จากเรื่องเล่าก็กลายเป็นตำนาน และจากตำนานก็กลายเป็นนิทานที่เด็กๆทุกคนในพันธาราจะได้ฟังก่อนเข้านอน
ผลงานอื่นๆ ของ ศิรปรินทร์ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ศิรปรินทร์
ความคิดเห็น